วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ซอฟต์เเวร์

                          ซอฟต์เเวร์

ความหมาย

        การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้นการดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งของซอฟต์แวร์
aaaaa
ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฎชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคาสินค้า ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบทำงานได้
aaaaa
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตออร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
aaaaa
การใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์จะเริ่มขึ้นเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์พร้อมรับคำสั่ง โดยขึ้นตัวพร้อม (prompt) ดังรูปที่ 6.1
รูปที่ 6.1 จอภาพแสดงตัวพร้อม
aaaaaเมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่ง DIR ซึ่งเป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในแผ่นบันทึกที่ติดต่ออยู่ขณะนั้นผลลัพธ์ที่ได้อาจแสดง ดังรูปที่ 6.2
รูปที่ 6.2 ตัวอย่างผลลัพธ์ของการใช้คำสั่ง DIR
aaaaaนั่นหมายความว่า ผู้ใช้ได้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง DIR ซึ่งถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อนแล้ว เมื่อเรียกคำสั่ง คอมพิวเตอร์จึงไปทำงานตามชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์นั่นเอง
aaaaa
ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
6.1.1 ซอฟต์แวร์ระบบaaaaaซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการทางด้านอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การดูแล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ เป็นต้น
6.1.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์aaaaaซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
aaaaa
การทำงานใด ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำเป็นต้องทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
รูปที่ 6.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์จะต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบ
aaaaaซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งแยกออกเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะและซอฟต์แวร์สำเร็จaaaaa1) ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนตามความต้องการของผู้ใช้หรือเฉพาะงานใดงานหนึ่ง ผู้เขียนต้องเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ซอฟต์แวร์งานธนาคารaaaaa2) ซอฟต์แวร์สำเร็จ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไปผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
                        
                          ซอฟต์เเวร์ระบบ

aaaa

aซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ
aaaaa
ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานอย่างถูกต้อง ซอฟต์แวร์นี้เชื่อมอยู่ระหว่างซอฟต์แวร์ประยุกต์กับฮาร์ดแวร์ที่เป็นหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยขับแผ่นบันทึก แผงแป้นอักขระและจอภาพ ในเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการนี้จะส่งงานผ่านไปยังโปรแกรมควบคุมการจัดการพื้นฐาน ซึ่งเป็นโปรแกรมย่อยขั้นพื้นฐานของการติดต่อไปยังฮาร์ดแวร์ของระบบอีกต่อหนึ่ง
aaaaa
การนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ผู้ใช้จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่งของโปรแกรมระบบปฏิบัติการให้ได้ในระดับหนึ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานขั้นต้นของการเรียกติดต่อกับคอมพิวเตอร์เช่น การขอดูรายการข้อมูลที่เก็บในแผ่นบันทึก การจัดรูปแบบแผ่นบันทึกเพื่อนำมาเก็บข้อมูล การสำเนาแฟ้มข้อมูล การลบแฟ้มข้อมูล และการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลใหม่ เป็นต้น การเรียนรู้ระบบปฏิบัติการได้ละเอียดลึกซึ้งมากก็ยิ่งจะช่วยให้สามารถเรียกติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มากยิ่งขึ้น
aaaaa
ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานเพียงงานเดียวในเวลาหนึ่ง เช่น ซีพีเอ็ม เอ็มเอสดอส พีซีดอส แอปเปิ้ลดอส และระบบปฏิบัติการที่ทำงานพร้อม ๆ กันหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันเรียกว่าระบบหลายภารกิจ (multitasking system) เช่น โอเอสทู วินโดวส์ 95
6.2.1 ซีพีเอ็ม (Control Program/Microcomputer : CP/M)aaaaaซีพีเอ็ม (Control Program/Microcomputer : CP/M) จัดเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆ ที่นำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขนาด 8 บิต ซึ่งปัจจุบันนี้ล้าสมัยแล้วหลังจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ขยายมาเป็นเครื่องขนาด 16 บิต ก็ได้มีการเขียนระบบปฏิบัติการขึ้นใหม่ คือ เอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System : MS-DOS) พีซีดอส (Personal Computer Disk Operating System : PC-DOS) ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับพีซี
6.2.2 เอ็มเอสดอสaaaaaเอ็มเอสดอส มีรากฐานมาจากระบบปฏิบัติการซีพีเอ็มนั่นเอง โดยการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานกับไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลอินเทล ขนาด 16 บิต เบอร์ 8088 ขึ้นใหม่ที่ยังคงรูปแบบลักษณะคำสั่งคล้ายของเดิม เมื่อมีการปรับปรุงเพิ่มขยายในเวลาต่อมาเป็นรุ่น 2.0 จึงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นอีกมากมาย โดยในรุ่น 2.0 นี้จะมีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายคลึงกับคำสั่งในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยเฉพาะด้านการจัดการข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่จัดเป็นโครงสร้างต้นไม้ของการแบ่งระบบแฟ้มเป็นระบบย่อย
aaaaa
เอ็มเอสดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับงานงานเดียว แม้จะมีซอฟต์แวร์มาเสริมช่วยการใช้งานในลักษณะหน้าต่าง (window) ทำให้สามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันแต่ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก เพราะไม่ได้มีการออกแบบมาเพื่องานหลายชิ้นโดยเฉพาะ เมื่อขีดความสามารถของฮาร์ดแวร์สูงขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับฮาร์ดแวร์จึงได้รับการพัฒนาเพื่อมาทดแทนเอ็มเอสดอส เช่น ระบบปฎิบัติการ โอเอสทู และวินโดวส์ 95
6.2.3 ระบบปฎิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95aaaaaระบบปฎิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95 ถือเป็นระบบปฎิบัติการที่ออกแบบและสร้างมาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลพีเอสทูของบริษัทไอบีเอ็มจำกัดเป็นระบบปฎิบัติการที่นำมาชดเชยขีดจำกัดของเอ็มเอสดอสเดิม ด้วยการเพิ่มลักษณะพิเศษของการทำงานหลายงานพร้อมกัน เทคนิคการเรียกใช้คำสั่งเป็นเมนูและสัญรูป (icon)
6.2.4 ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ aaaaaระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฎิบัติการที่พัตนาและออกแบบสำหรับงานด้านวิชาการ และประยุกต์ใช้ทางด้านวิทยาศาสตร์ บนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ แต่ในภายหลังก็ได้ปรับปรุงไปใช้บนเครื่องเกือบทุกระดับ รวมถึงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบใหญ่และซับซ้อน สามารถให้ผู้ใช้หลายรายทำงานหลายงานพร้อมกัน อย่างไรก็ตามจะมีขีดจำกัดที่หน่วยความจำของระบบ เป็นระบบปฎิบัติการที่นิยมใช้เป็นเครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลร่วมกัน

ซอฟต์เเวร์ประยุกต์ 

aaaaa

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจากขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้น ๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลาย ๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย
aaaaa
ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะทาง
6.3.1 ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปaaaaaซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน ผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไปaaaaaซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน คือaaaaa- ด้านการประมวลคำaaaaa- ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล หรือตารางทำงานaaaaa- ด้านการเก็บและเลือกค้นข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูลaaaaa- ด้านการติดต่อสื่อสารทางไกลaaaaa- ด้านการพิมพ์ตั้งโต๊ะaaaaa- ด้านการลงทุนและการจัดการเงินaaaaa- ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมaaaaa- ด้านภาพกราฟิกและการนำเสนอข้อมูลaaaaa- ด้านการจำลอง เกม และการตัดสินใจaaaaaในบรรดาซอฟต์แวร์สำเร็จทั้งหลายในกลุ่มนี้ กลุ่มซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานมากและจำเป็นต้องมีประจำหน่วยงาน มักจะเป็นสี่รายการแรก คือ ด้านการประมวลคำ ด้านตารางทำงาน ด้านระบบฐานข้อมูล และด้านการสื่อสาร นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้น ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกเพื่อนำเสนอข้อมูล และซอฟต์แวร์การพิมพ์ตั้งโต๊ะ
aaaaa
ซอฟต์แวร์สำเร็จส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นโปรแกรมประยุกต์เชิงพาณิชย์ที่มาจากต่างประเทศ ยกเว้นเฉพาะกลุ่มแรก คือ โปรแกรมประมวลคำที่ประเทศไทยมีสร้างและพัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานร่วมกับภาษาไทย โดยการนำซอฟต์แวร์เดิมมาดัดแปลงและเพิ่มเติมส่วนที่ใช้งานเป็นภาษาไทย
aaaaa
นอกจากซอฟต์แวร์สำเร็จที่กล่าว ยังมีซอฟต์แวร์สำเร็จซึ่งนำความสามารถของงานหลาย ๆ ด้านมารวมอยู่ในโปรแกรมเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้งานหลายอย่างได้พร้อมกัน คือ จะใช้ได้ทั้งประมวลคำ ตารางทำงาน จัดการฐานข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และอาจรวมถึงการสื่อสารข้อมูลด้วย
aaaaa
ซอฟต์แวร์สำเร็จอาจไม่สามารถนำไปใช้กับงานโดยตรง จะต้องมีการเปลี่ยแปลงแก้ไขหรือพัฒนาเพิ่มเติม ซึ่งการแก้ไขนี้อาจต้องใช้เวลาและกำลังงาน ในบางครั้งก็ยังไม่สามารถสนองความต้องการได้ จึงเกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะอาชีพหรือเฉพาะทาง
6.3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะทางaaaaaซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะทาง เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้าน หรือในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป
aaaaa
โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้า และระบบของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียว หรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคนaaaaaในประเทศไทยมีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้งานเฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภท ไว้ดังนี้aaaaa1) ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือนaaaaa2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง ระบบงานควบคุมสินค้าแบบจำนวนและรายชิ้น และระบบงานประวัติการขายaaaaa3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุม การทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิตaaaaa4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์

                            คำถาม

1.ซอฟต์เเวร์มีกี่ประเภท

ก.  3 ประเภท
ข.  2ประเภท

2.ซอฟต์เเวร์ประยุกต์เขียนอย่างไร

ก.  Microsoft  PowerPoint
ข.  Specilized  appliction

               เฉลย

1.  ข.
2.  ข.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น